ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง CKD
Chronic kidney disease
โรคไตไม่น่ากลัว
คุณยังมีคุณภาพชีวิตที่ดี ใช้ชีวิตเป็นปกติ เพียงเอาใจใส่ ดูแลอาหารที่รับประทานและสุขภาพอนามัย ให้เหมาะกับระยะไตที่เป็นอยู่
โรคไตนั้นไม่ยากเกินเข้าใจ แต่ต้องการ การตระหนักรู้ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ เมื่อเราทราบแล้วว่า ตนเองป่วยเป็นโรคไต ไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม การดูแลเอาใจใสที่ดี การสร้างลักษณะนิสัยใหม่ในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้ไตของเราแข็งแรง ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยินดีทำงานให้กับร่างกายของเรา ต่อไปอีกนานแสนนานเลยทีเดียว
โรคไตเรื้อรัง คือ กลุ่มอาการ ที่ไตไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามช่วงอายุของผู้ป่วย ยาวนานต่อเนื่อง และมีแนวโน้วที่ไตจะเสื่อมประสิทธิภาพลงเร็วกว่าเวลาที่ควรเป็น ซึ่งจะรวดเร็วแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุอาการโรคของผู้ป่วยเอง
โดยทั่วไป ไตของเราเสื่อมลงอยู่ตลอดเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งเป็นอย่างนั้นกับทุก ๆ คน แต่จะไม่มีผลกระทบมากนักตลอดช่วงชีวิตเรา แต่ถึงอย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื่อรัง การพบ ภาวะไตหยุดการทำงานทั้งหมดโดยสิ้นเชิง ซี่งเรียกว่า "ไตวาย" สามารถพบเจอได้เป็นปกติ และส่วนมากภาวะไตเสื่อมก่อนวัย จะพบได้ในคนผิวสี และผู้คนแถบเอเซียทางตอนใต้ เป็นส่วนใหญ่
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่ เมื่อป่วยมีอาการไตเสี่ยม CKD มักไม่แสดงอาการใด ๆ ยังคงใช้ชีวิตอย่างปกติ จนในที่สุดเมื่อโรคดำเนินมาถึงระยะท้ายๆ คือ ระยะที่ 4 และระยะที่ 5 ผู้ป่วยจะมีของเสียคั่งในร่างกายมากขึ้น เริ่มมีอาการบวม มีอาการเป็นตะคริว เบื่ออาหาร อ่อนแรง หายใจหอบ และอื่นๆ หากเริ่มมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินการรักษาต่อไป
- โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคไต เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 3 จะเริ่มสังเกตุเห็นภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นกับร่างกายบ้างแล้ว
การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวีต การควบคุมอาหารนั้นสำคัญ เพื่อ!
ชลอการเสื่อมของไตให้ช้าที่สุด
ยืดเวลาที่ต้องใช้การบำบัดไตทดแทนให้ได้นานที่สุด
ลดการคั่งของของเสียในกระแสเลือด
ป้องกันการสูญเสียมวลของกล้ามเนื้อผู้ป่วย
ป้องกันการขาดสารอาหาร
รักษาโภชนาการอาหารของผู้ป่วยให้ได้ใกล้เคียงกับภาวะปกติให้มากที่สุด
เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพโดยรวมดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี
หน้าทีของไต
ควบคุมความเป็นกรด เป็นด่างในร่างกาย
ขับของเสียออกจากร่างกาย
ควบคุมความดันโลหิต ปริมาณน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย
ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย โดยผลิตฮอร์โมนที่มีชื่อว่า Erythopoietin
ควมคุมการสร้าง วิตามินดี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และควบคุมการสร้างกระดูก
ไตเรายังทำงานได้ดีอยู่หรือไม่
5 ระยะของโรคไต แบ่งตามสามารถการกรองของไต
ระยะที่ 1 ค่า eGFR มาก 90 ตรวจพบมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ มีภาวะผิดปกติที่ไต แต่ค่าการกรองยังปกติ
ระยะที่ 2 ค่า eGFR 60 - 90 มีภาวะผิดปกติที่ไต ไตเริ่มถูกทำลาย อัตราการกรองของไตลดลงเล็กน้อย
ระยะที่ 3 ค่า eGFR 30 - 59 ไตเสื่อม ระยะนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
- 3a ค่า eGFR 45 - 59 อัตราการกรองของไตลดลงเล็กน้อยถึงปานกลาง
- 3b ค่า eGFR 30 - 44 อัตราการกรองของไตลดลงปานกลางถึงมาก
ระยะที่ 4 ค่า eGFR 15 - 29 ไตเริ่มวาย อัตราการกรองของไตลดลงมาก
ระยะที่ ค่า eGFR น้อยกว่า 15 ไตวายระยะสุดท้าย (ESRD)
ค่า eGFR (estimated Glomerular Filtration Rate) คือปริมาณของเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองของไตในหนึ่งนาที (มล./นาที/1.73 ตร.ม)
คำแนะนำการกินอาหารตามแบบการแพทย์ทางเลือกเพื่อชลอไตเสื่อม
กินน้ำตาลแต่น้อย หลีกเลี่ยงน้ำตาลผลไม้หรือฟรุคโตส
ธัญพืชเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ดี
กินอาหารที่เป็นด่างและมีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสี
ลดอาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น เนื้ดสัตว์และน้ำอัดลม
กินไข่ทั้งฟอง ไม่เกิน 2 ฟองต่อวัน
งดนมทุกชนิด เนื่องจากมีฟอสฟอรัสสูง
เลือกใช้น้ำมันที่เป้นไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว
กินโซเดียมไม่เกินวันละ 2000 มิลลิกรัม (เทียบเท่าเกลือแกง 1 ช้อนชา) ในคนที่มีความดันโลหิตปกติหรือสูง
ดื่มน้ำให้มาก ควรเป็นน้ำแร่หรือน้ำกรอง
*** กินแต่พอดี ไม่มีอะไรได้ถ้ามากเกินไป ***
งานอายุกรรม
อาหารสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
ไต เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายในการขับของเสีย โดยเฉพาะที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน มีมากในเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วต่าง ๆ และนม ซึ่งของเสียประเภทนี้ได้แก่ ยูเรีย ครีเอตินีน กรดยูริค และสารประกอบไนโตรเจนอื่น ๆ ออกทางปัสสาวะ และควบคุมปริมาณน้ำ เกลือแร่ และ กรด-ด่าง ในร่างกายให้สมดุล น้ำและเกลือแร่ส่วนที่เกิน จะถูกขับออกทางปัสสาวะ เกลือแร่ดังกล่าวได้แก่ โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัส เป็นต้น
ถ้าไตข้างใดข้างหนึ่งเสีย ไตอีกข้างหนึ่งสามารถทำหน้าที่แทนได้ เมื่อไตทั้ง 2 ข้างไม่สามารถกรองของเสียหรือที่เรียกว่า ไตวาย ก็จะเกิดอาการ ซึ่งเกิดจากการคั่งของน้ำและเกลือแร่ และการเสียสมดุลของฮอร์โมนของร่างกาย